7 ประเภทพลาสติกที่อยู่รอบตัวคุณ

มองไปรอบตัวทุกสิ่งล้วนมีพลาสติกเป็นส่วนผสม ไม่ว่าจะเป็น จาน ชาม ช้อนส้อม กล่องใส่อาหาร โต๊ะเก้าอี้ หรือแม้กระทั่งกล่องใส่ของ ซึ่งทำมาจากพลาสติก เพื่อนๆเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า พลาสติกมีกี่ประเภท ทำมาจากอะไร พลาสติกแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และสามารถนำกลับมาใช้ได้หรือไม่ วันนี้ Super Lock มีคำตอบ

พลาสติกคืออะไร
พลาสติกคืออะไร

พลาสติกคือ?

พลาสติก คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ประกอบด้วยโมเลกุลซ้ำๆ กันต่อกันเป็นโมเลกุลสายยาวๆ ประกอบด้วยธาตุสำคัญ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นๆเป็นส่วนประกอบย่อย ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน, ฟลูออรีน, คลอรีน, และกำมะถัน เป็นต้น พลาสติกเป็นวัสดุที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิต ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19  เพื่อทดแทน วัสดุจากธรรมชาติ เช่น แก้ว ไม้ กระดาษ โลหะ ยาง ขนสัตว์

พลาสติกทำมาจากอะไร

จากการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ เข้ากระบวนการปิโตเลียม-การกลั่นน้ำมันดิบ ทำให้เราสามารถแยกสารประกอบไอโดรคาร์บอนออกเป็นสวนต่างๆ เช่น ก๊าซเอทธิลีน(Ethylene) และโพรพิลีน(Propylene) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกบางชนิด โดยก๊าซเหล่านี้จะถูกส่งไปยังโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก

พลาสติกทำมาจากอะไร
พลาสติกทำมาจากอะไร

ประเภทของพลาสติก 7 ประเภท

สามารถแบ่งได้จาก การรีไซเคิล ซึ่งสมาคม อุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.) ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยม กลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆ โดยหากพลาสติกใดสามารถนำมารีไซเคิลได้ ก็จะมีรหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยม

PET
PET
  1. PET / PETE /PEพอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylene Terephthalate)

    พลาสติกมีลักษณะ ใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี มองทะลุได้ เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น

    HDPE

  2. HDPE พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene)

    โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) บรรจุภัณฑ์พลาสติกสีขาวและสีอื่นที่เป็นสีทึบ ขวดชนิดนี้จะเหนียวและทนทานกว่า PET ยกตัวอย่างเช่น ขวดนม ขวดแชมพู ขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า กระปุกยา เป็นต้น

    PVC
    PVC
  3. PVC โพลีไวนิล คลอไรด์ (Polyvinylchloride)

    เป็นวัสดุที่เป็นแบบแข็งหรือเป็นยาง นอกจากท่อพีวีซีที่ใช้เป็นอุปกรณ์ก่อสร้างแล้ว พวกของเล่นเด็ก ผ้าม่านห้องน้ำ แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู และหนังเทียม อีกด้วย ทั้งนี้ พลาสติกชนิดนี้มีข้อดีคือ มีความทนต่อน้ำมัน และกันกลิ่นได้ดี แต่ไม่ทนความร้อน

    LDPE
    LDPE
  4. LDPE พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene)

    เป็นฟิล์มพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ เช่น ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว หลอดพลาสติก พลาสติกแรปห่ออาหาร เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน
    Super Lock กล่องถนอมอาหาร

  5. PP พอลิโพรพิลีน (Polypropylene)

    เป็นพลาสติกชนิดที่ใช้มากที่สุดอีกชนิดหนึ่ง พลาสติกมีความทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมี น้ำมัน และ ปราศจากสาร BPA Free มีน้ำหนัก สามารถนำไปใช้ในไมโครเวฟได้ใช้ทำภาชนะ บรรจุอาหาร ถือว่า เป็นพลาสติก Food Grade ที่ มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้บรรจุ หรือสัมผัสกับอาหาร ไม่ทิ้งสารตกค้างเมื่อสัมผัสกับอาหาร เช่น กล่องใส่อาหาร ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
    PS

  6. PS พอลิสไตรีน (Polystyrene)

    เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งาน เพราะย่อยสลาย และรีไซเคิลได้ยาก

    ตัวอย่างสินค้าที่ใช้พลาสติกชนิดนี้ เช่น แก้วน้ำชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง แผ่น CD/DVD กล่องอาหาร กล่องโฟม แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่

    กระบอกน้ำพลาสติก

  7.  อื่นๆ(Other)

    ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมา หลอมใหม่ได้ อาจเป็นได้ทั้ง  Poly Cabonate (pc) , Tritan (Copolyester) และอื่นๆ
    สัญลักษณ์ของการรีไซเคิลพลาสติก

วิธีสังเกตประเภทของพลาสติกและคุณสมบัติของพลาสติก

พลาสติกแต่ละประเภทสามารถแยกได้จาก สัญลักษณ์ตัวเลขหรือความแตกต่างของคุณสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิด

1. โพลีเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต (Polyethylene Terephthalate : PETE)

คุณสมบัติ : พลาสติก เนื้อเหนียว มีความทนทานต่อแรงกระแทก และมีคุณสมบัติในการป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 1

2. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene : HDPE)

คุณสมบัติ : พลาสติกชนิดนี้มีความหนาแน่นสูง ทำให้แข็งแรง แต่โปร่งแสงน้อยกว่าโพลีเอทิลีน ความหนาแน่นต่ำ ทนกรดและด่าง ทั้งยังป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 2

3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride : PVC)

คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกใสที่มีความแข็งแรงมาก ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอสมควร แต่ป้องกันไขมันได้ดี

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 3

4. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene : LDPE)

คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกโปร่งแสง ที่มีปริมาตรสูง แต่ความหนาแน่นต่ำ

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 4

5. โพลีโพรพิลีน (Polypropylene : PP)

คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาที่สุด แต่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก และความร้อนสูง

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 5

6. โพลีสไตรีน (Polystyrene : PS)

คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกที่มีความโปร่งใส เปราะบาง แต่ทนต่อกรดและด่าง ผลิตเป็นรูปต่าง ๆ ได้ง่าย ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอสมควร

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 6

7. พลาสติกอื่น ๆ (Other)

คุณสมบัติ : พลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก เช่น โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate : PC) เป็นพลาสติกโปร่งใส มีความแข็งแรง ทนต่อความร้อน กรด และแรงกระแทกได้ดี

สัญลักษณ์ : สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 7

ตารางเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวของพลาสติกแต่ละประเภท

PET HDPE LDPE PP PS PVC
การทนความร้อน -20 ถึง 60°C 0 ถึง 100 °C -50 ถึง 120 °C -20 ถึง 120 °C -20 ถึง 80 °C -20 ถึง 80 °C
จุดหลอมเหลว(°C) 260 120 115 165 240 80
ความหนาแน่น(kg/m³) 1370 941 920 855-946 1050 1380
ความโปร่งใส ใส ขุ่น ขุ่น ขุ่น ใส ใส
ความแข็ง สูง ปานกลาง ต่ำ สูง สูง แต่เปราะง่าย สูง
ความทนต่อแรงกระแทก ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดี พอใช้ ดี
ทนทานต่อความร้อน พอใช้ ดี พอใช้ ดี พอใช้ พอใช้
ป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้น ดี ดีมาก ดี ดีมาก พอใช้ พอใช้
สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้ได้ เส้นใยสำหรับเสื้อกันหนาวหรือพรม ขวดใส่น้ำยาซักผ้า ถังขยะ ถุงดำใส่ขยะ กล่องแบตเตอรรี่รถยนต์ ไม้แขวนเสื้อ กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์พลาสติก

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องพลาสติก ที่ทาง Super Lock นำมาฝากกันในวันนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดขยะพลาสติกสนับสนุนให้ทุกคนเข้าใจเครื่องหมายต่างๆบนพลาสติกและใช้งานพลาสติกได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี รวมถึง สามารถแยกแยะพลาสติกแต่ละชนิดได้เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล เพื่อลดขยะ และใช้งานพลาสติกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You cannot copy content of this page